วันพฤหัสบดีที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2557

3 เสาหลัก ของ AEC


1. ประชาคมการเมืองความมั่นคงอาเซียน (ASEAN POLITICAL-SECURITY COMMUNITY หรือ APSC)
    ความมั่นคงและเสถียรภาพทางการเมืองเป็นพื้นฐานสำคัญในการพัฒนาด้านอื่นๆ ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียนจึงเป็นเสาหลักความร่วมมือหนึ่งในสามเสาหลัก ที่เน้นการรวมตัวของอาเซียนเพื่อสร้างความมั่นใจ เสถียรภาพ และสันติภาพ ในภูมิภาค เพื่อให้ประชาชนในอาเซียนอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข และปราศจากภัยคุกคามด้านการทหาร และภัยคุกคามในรูปแบบใหม่ เช่น ปัญหายาเสพติด และปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติ ประชาคมการเมืองความมั่นคงอาเซียนมีเป้าหมาย 3 ประการ ได้แก่

    - สร้างประชาคมให้มีค่านิยมร่วมกันในด้านความคิด เเละส่งเสริมให้ประชาชนเป็นศูนย์กลางของนโยบายต่างๆภายใต้เสาการเมืองความมั่นคง
    - อาเซียนสามารถเผชิญหน้ากับภัยคุกคามหลากหลายรูปแบบเพื่อส่งเสริมความมั่นคงของมนุษย์
    - เพื่อให้อาเซียนมีความสัมพันธู์เเน่นเเฟ้นกันมากยิ่งขึ้น

2. ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN ECONOMIC COMMUNITY หรือ AEC)
    - สร้างขีดความสามารถในการเเข่งขันทางเศรษฐกิจ : มีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงลงทุน เเละในด้านการใช้เเรงงานอย่างเสรี
    - การสร้างความสามารถในด้านต่างๆ : นโยบายการแข่งขัน นโยบายภาษี และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
    - การพัฒนาเศรษฐกิจให้มีความเสมอภาค : ลดช่องว่างของระดับการพัฒนาประเทศระหว่างสมาชิกเก่า เเละสมาชิกใหม่ใก้มีความเท่าเทียมกัน
    - การบูรณาการเช้ากับเศรษฐกิจโลก : เน้นการประสานนโยบายเศรษฐกิจของงอาเซียนกับภายนอกภูมิภาค

3. ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN SOCIO-CULTURAL COMMUNITY หรือASCC)
    มีเป้าหมายเป็นประชาคมศูนย์กลาง เป็นสังคมที่เอื้ออาทรต่อกัน และประชาคมอาเซียนมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดีและมีการพัฒนาในทุกๆด้านเพือยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน
โดยมี แผนปฏิบัติการด้านสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน 
     3.1 การพัฒนามนุษย์ (Human Development)
     3.2 การคุ้มครองและสวัสดิการสังคม (Social Welfare and Protection)
     3.3 สิทธิและความยุติธรรมทางสังคม (Social Justice and Rights)
     3.4 ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Sustainability)
     3.5 การสร้างอัตลักษณ์อาเซียน (Building and ASEAN Identity)
     3.6 การลดช่องว่างทางการพัฒนา (Narrowing the Development Gap)

ในภาพรวม ไทยได้รับประโยชน์เป็นอย่างมากจากความร่วมมือด้านต่างๆ ของอาเซียน 

ประโยชน์ที่เราได้รับ


ประโยชน์จากการเปิดเสรีการค้าบริการในระดับภูมิภาคอาเซียน ซึ่งอิงกับหลักการตามข้อตกลงทั่วไปว่าด้วยการค้าสินค้ าและบริการขององค์การการค้าโลก แต่เน้นให้เป็นไปในลักษณะที่กว้างและลึกกว่าที่ประเทศสมาชิกอาเซียนไว้ภายใต้ความตกลงทั่วไปว่าด้วยการค้าบริการขององค์การการค้าโลก ซึ่งการเปิดเสรีการค้าบริการของอาเซียน ซึ่งมีการจัดทำข้อผูกพันในด้านการเข้าสู่ตลาด (Market Access) และการปฏิบัติอย่างคนชาติ(National Treatment) และมีรูปแบบการค้าบริการ 4 รูปแบบ ได้แก่

รูปแบบที่ 1 (Mode 1) ได้แก่ การให้บริการข้ามพรมแดน (Cross Border Supply) เช่น การที่ประเทศมาเลเซียสั่งซื้อโปรแกรมเพื่อการศึกษาจากประเทศสิงคโปร์

รูปแบบที่ 2 (Mode 2) ได้แก่ การบริโภคบริการในต่างประเทศ (Consumption Abroad) เช่น การที่นักศึกษาจากประเทศลาวเดินทางไปศึกษาต่อระดับปริญญาโทที่ประเทศอินโดนีเซีย

รูปแบบที่ 3 (Mode 3) ได้แก่ การจัดตั้งธุรกิจเพื่อให้บริการ(Commercial Presence) เช่น การที่มหาวิทยาลัยจากประเทศไทยไปตั้งสาขาเพิ่มขึ้นที่ประเทศพม่า

รูปแบบที่ 4 (Mode 4) ได้แก่ การเคลื่อนย้ายบุคลากร (Movement of Natural Persons) เช่น การที่ครูจากประเทศฟิลิปปินส์เดินทางไปสอนภาษาอังกฤษที่ประเทศเวียดนาม

ซึ่งประเทศสมาชิกอาเซียนมีลักษณะการเปิดเสรีด้านการศึกษาที่เป็นไปในรูปแบบเดียวกับกลุ่มประเทศสมาชิกองค์การการค้าโลก โดยมีการเปิดเสรีในระดับที่มากกว่าสำหรับรูปแบบการค้าบริการรูปแบบที่ 1 และ 2 เมื่อเทียบกับรูปแบบที่3 และ 4 โดยมีหลายประเทศที่มีข้อจำกัดสำหรับรูปแบบการค้าบริการรูปแบบที่ 3 และยังแทบจะไม่มีการเปิดเสรีในกรณีของรูปแบบที่ 4

การเตรียมความพร้อมของการศึกษาไทย


1. การสร้างประชาคมอาเซียนด้วยการศึกษา 
ให้ประเทศไทยเป็น Education Hub หรือ ศูนย์กลางการศึกษา มีการเตรียมความพร้อมในหลายๆ ด้าน 
     1.1 ในด้านกรอบความคิด : เป็นแผนการศึกษาแห่งชาติ ที่มุ่งสร้างให้คนไทยมีความตระหนักว่าตนเป็นคนของประชาคม
อาเซียนเเละพร้อมที่จะพัฒนาสมรรถภาพของตนเอง ให้พร้อมที่จะอยู่ร่วมกับเพื่อนบ้าน และจะส่งเสริมการศึกษา
โดยมีความร่วมมือ 3 ด้าน
       - ด้านการพัฒนาคุณภาพการศึกษา
       - ขยายโอกาสทางการศึกษาให้มากขึ้น
       - ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการบริการเเละจัดการศึกษา

2. ขับเคลื่อนสมาคมอาเซียนด้วยการสร้างความเข้าใจในเรื่องการศึกษาเรื่องราวของประเทศเพื่อนบ้าน ความเเตกต่างทางด้านวัฒนธรรม ความเป็นอยู่ การดำรงชีวิต มีการส่งเสริมทางด้านการเรียนการสอนภาษาต่างประเทศ เพื่อให้มีความสะดวกในการติดต่อสื่อสารกัน และปลูกฝังให้เด็กไทยพูดภาษาอังกฤษให้ได้ เพื่อไม่เป็นปัญหาในภายหลัง

การรวมกลุ่มสินค้าและบริการ


การรวมกลุ่มสินค้าและบริการของอาเซียนหลักๆนั้นมีอยู่ด้วยกัน 12 สาขา ซึ่งเป็นการเปิดเสรีทางด้านการค้าและบริการ
เพื่อส่งเสริมการแบ่งงานกันในการผลิตสินค้าและบริการภายในอาเซียนด้วยกันเอง โดยจะเน้นใช้วัตถุดิบภายในอาเซียนเป็นหลักตามความถนัดของแต่ละประเทศ  เพราะว่าแต่ละประเทศมีวัตถุดิบที่ไม่เหมือนกัน ถ้าจะให้ทุกประเทศผลิตเอง ทุกๆอย่างก็จะเป็นการเพิ่มต้นทุนในการผลิตสินค้าแบบสิ้นเปลือง  ดังนั้นจึงมีการแบ่งทั้ง 12 สาขา ตามประเทศที่รับผิดชอบได้ ดังนี้

         1. พม่า  -  สาขาผลิตภัณฑ์เกษตร และสาขาประมง
         2. มาเลเซีย  -  สาขาผลิตภัณฑ์ยาง และสาขาสิ่งทอ
         3. อินโดนีเซีย  -  สาขายานยนต์ และสาขาผลิตภัณฑ์ไม้
         4. ฟิลิปปินส์  -  สาขาอิเล็กทรอนิกส์
         5. สิงคโปร์  -  สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ และสาขาสุขภาพ
         6. ไทย  -  สาขาการท่องเที่ยวและสาขาการบิน
         7. เวียดนาม  -  สาขาโลจิสติกส์

ประโยชน์ต่อประเทศไทย







1. ประเทศไทยจะมีหน้ามีตาเเละมีฐานะที่เด่นชัดขึ้น ประชาคมอาซียนจะทำให้เศรษฐกิจของประเทศไทย มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 9 ของโลก

2. การค้าระหว่างไทยเเละสมาชิกประชาคมอาเซียนจะคล่องต้วเเละขยายตัวมากยิ่งขึ้น ค่าภาษีต่างๆจะลดลง เพราะ 10 ตลาดจะกลายเป็นตลาดเดียว ผู้ที่ผลิตจะส่งสินค้าไปขายในตลาด จะขยายธุรกิจของตนได้ง่ายยิ่งขึ้น ผู้บริโภคจะมีทางเลือกเเละ

การตัดสินใจในการซื้อมากขึ้น เเละราคาสินค้าจะถูกลงจากเดิม

3. ตลาดจะขยายตัวใหญ่ขึ้น จากประชากรของประเทศไทยที่มีคน 67 ล้านคน ก็จะขยับขยายเป็น 590 ล้านคน จะทำให้ประเทศไทยเป็นเเหล่งทีน่าสนใจมากยิ่งขึ้น  เพราะสินค้าที่ผลิตจากไทยสามารถส่งออกไปยังประเทศเพื่อนบ้านที่เป็นสมาชิก AEC ราวกับส่งของไปขายต่างจังหวัด ในตอนนี้เราสามารถส่งออกสินค้าเเข่งขันกับประเทศจีนเเละอินดียได้เเล้ว

4. เครือข่ายการสื่อสารคมนานคมระหว่างประเทศเพื่อนประโยชน์ในหลายๆ ด้านเช่น ด้านการค้า การลงทุน เเละยังมีผลพลอยได้ในแง่การไปมาหาสู่กันได้สะดวกมากยิ่งขึ้น จะยิ่งทำให้คนในอาเซียนมีความสนิทเเน่นเเฟ้นกัน ระหว่างประเทศ และจะยิ่งพัฒนาประชาคมอาเซียนให้เจริญก้าวหน้าพัฒนาในด้านอื่นๆต่อไปให้ดียิ่งขึ้น



"AEC คือ.."


AEC คือ..


สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East Asian Nations : ASEAN)
หรือที่เรียกว่า  ประชาคมอาเซียน เป็นเป้าหมายการรวมตัวกันของประเทศสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ ที่ประกอบไปด้วย
ไทย  พม่า  ลาว  เวียดนาม
มาเลเซีย  สิงคโปร์  อินโดนีเซีย
ฟิลิปปินส์  กัมพูชา และ  บรูไน
ซึ่งรวมตัวกันเพื่อเพิ่มอำนาจต่อรองและขีดความสามารถการแข่งขันในด้านต่างๆ อาทิเช่น ด้านเศรษฐกิจ ของอาเซียน
ในเวทีระหว่างประเทศ รวมทั้งให้อาเซียน มีความแข็งแกร่ง มีภูมิต้านทานที่ดี ในการรับมือกับปัญหาใหม่ๆที่จะเกิดขึ้น
ในระดับโลกได้  ซึ่ง Asean จะมีผลอย่างเป็นรูปธรรม ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558  ซึ่งวันนั้น จะทำให้เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของเราเปลี่ยนไปอย่างที่คุณคาดไม่ถึงเลยทีเดียว



ความเป็นมาในการจัดตั้ง AEC
เกิดขึ้นมาจากการพัฒนาของสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
(Association of Southeast Asian Nations – ASEAN)
เนื่องจากสมาชิกอาเซียนเห็นตรงกันว่า ในปัจจุบันนั้นอาเซียนมีจำนวนสมาชิกทั้งหมด 10 ประเทศ
ซึ่งมีจำนวนประชากรทั้งหมด ประมาณ 500 ล้านคน ซึ่งถือได้ว่าเป็นกลุ่มเศรษฐกิจภูมิภาคที่มีขนาดใหญ่มาก
จึงเห็นตรงกันว่าควรที่จะร่วมมือกัน เพื่อทำให้อาเซียนมีความเข้มแข็งในด้านต่างๆ มากขึ้น
ด้วยเหตุนี้เองที่ทำให้อาเซียนจึงกลายสภาพเป็น AEC ในที่สุด 



จุดแข็ง และ จุดอ่อนของแต่ละประเทศในประชาคมอาเซียน



1. ประเทศสิงคโปร์
จุดแข็ง

• รายได้เฉลี่ยต่อคนต่อปีสูงที่สุดของอาเซียน ซึ่งติดอันดับ 15 ของโลก
• เป็นแรงงานที่มีทักษะสูง 
• การเมืองมีความเสถียรภาพ
• เป็นศูนย์กลางทางการเงินระหว่างประเทศ 
• มีชำนาญในด้านการจัดการทรัพยากรบุคคล และธุรกิจ
• มีสถานที่ตั้งที่เอื้ออำนวยต่อการเป็นศูนย์กลางเดินเรือ
จุดอ่อน
• พึ่งพาการนำเข้าวัตถุดิบและขาดแคลนแรงงานระดับล่าง
• มีค่าใช้จ่ายในการดำเนินธุรกิจที่สูง


2. ประเทศมาเลเซีย
จุดแข็ง

• รายได้เฉลี่ยต่อคนต่อปีอยู่ในอันดับ 3 ของอาเซียน
• มีปริมาณสำรองน้ำมันมากเป็นอันดับ 3 และมีก๊าซธรรมชาติมากเป็นอันดับ 2 ของเอเชียแปซิฟิก
• เป็นแรงงานที่มีทักษะ
• มีระบบโครงสร้างพื้นฐานที่ครบวงจร
จุดอ่อน• จำนวนประชากรค่อนข้างน้อย ซึ่งมีผลทำให้ขาดแคลนแรงงาน โดยเฉพาะแรงงานระดับล่าง


3. ประเทศบรูไน
จุดแข็ง

• รายได้เฉลี่ยต่อคนต่อปีอยู่ในอันดับ 2 ของอาเซียน และอันดับ 26 ของโลก
• การเมืองค่อนข้างจะมั่นคง
• เป็นประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน และมีปริมาณสำรองน้ำมันเป็นอันดับ 4 ของอาเซียน
จุดอ่อน• ตลาดขนาดเล็ก ประชากรประมาณ 4 แสนคน
• ขาดแคลนแรงงาน


4. ประเทศอินโดนีเซีย
จุดแข็ง

• ขนาดเศรษฐกิจใหญ่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
• ตลาดขนาดใหญ่ (ประชากรมากเป็นอันดับ 4 ของโลก และมากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้)
• มีชาวมุสลิมมากที่สุดในโลก
• มีทรัพยากรธรรมชาติหลากหลายและจำนวนมาก โดยเฉพาะถ่านหิน น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ โลหะต่างๆ
• ระบบธนาคารค่อนข้างแข็งแกร่ง
จุดอ่อน• ที่ตั้งเป็นเกาะและกระจายตัว
• สาธารณูปโภคพื้นฐานยังไม่พัฒนาเท่าที่ควร โดยเฉพาะการคมนาคม และการเชื่อมโยงระหว่างประเทศ


5. ประเทศเวียดนาม
จุดแข็ง

• ประชากรจำนวนมากอันดับ 14 ของโลก (ประมาณ 90 ล้านคน)
• มีปริมาณสำรองน้ำมันมากเป็นอันดับ 2 ของเอเชียแปซิฟิก
• มีแนวชายฝั่งทะเลยาวกว่า 3,200 กิโลเมตร
• ค่าจ้างแรงงานเกือบต่ำสุดในอาเซียน รองมาจากประเทศกัมพูชา
• การเมืองมีความเป็นเสถียรภาพ
จุดอ่อน• ระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานยังไม่ได้รับการพัฒนาเท่าที่ควร
• ต้นทุนที่ดินและค่าเช่าสำนักงานราคาค่อนข้างสูง


6. ประเทศฟิลิปปินส์จุดแข็ง
• ประชากรจำนวนมากอันดับ 12 ของโลก (มากกว่า100 ล้านคน)
• แรงงานทั่วไปมีความรู้ และสามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้
จุดอ่อน• ที่ตั้งห่างไกลจากประเทศสมาชิกอาเซียนทั้งหมด
• ระบบโครงสร้างพื้นฐาน และสวัสดิภาพทางสังคมยังไม่พัฒนาเท่าที่ควรจะเป็น


7. ประเทศไทย
จุดแข็ง

• เป็นฐานการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมและสินค้าเกษตรหลายรายการรายใหญ่ของโลก
• ที่ตั้งที่เอื้อต่อการเป็นศูนย์กลางโครงข่ายเชื่อมโยงคมนาคมด้านต่างๆ
• สาธารณูปโภคพื้นฐานของประเทศมีความทั่วถึง
• ระบบธนาคารค่อนข้างเข้มแข็ง
• แรงงานมีจำนวนมาก
จุดอ่อน• เทคโนโลยีการผลิตส่วนใหญ่ยังเป็นขั้นกลาง
• แรงงานส่วนใหญ่ยังขาดทักษะ


8. ประเทศกัมพูชา
จุดแข็ง

• มีทรัพยากรธรรมชาติหลากหลายและอุดมสมบูรณ์ โดยเฉพาะน้ำ ป่าไม้ และแร่ชนิดต่างๆ
• ค่าจ้างแรงงานต่ำสุดในอาเซียน (ประมาณ1.6 USD/day)
จุดอ่อน• ระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานยังไม่พัฒนาเท่าที่ควรจะเป็น
• ต้นทุนสาธารณูปโภคต่างๆ ทั้ง ค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า และการสื่อสาร ค่อนข้างสูง
• ขาดแคลนแรงงานที่มีทักษะ


9. ประเทศพม่า
จุดแข็ง

• มีทรัพยากรธรรมชาติ น้ำมันและก๊าซธรรมชาติเป็นจำนวนมาก
• มีพรมแดนเชื่อมโยงกับประเทศจีนและอินเดีย
• ค่าจ้างแรงงานค่อนข้างต่ำ (2.5 USD/day)
จุดอ่อน• ระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานยังไม่พัฒนาเท่าที่ควร
• ความไม่แน่นอนทางการเมือง และนโยบาย


10. ประเทศลาว
จุดแข็ง

• มีทรัพยากรธรรมชาติหลากหลายและอุดมสมบูรณ์ โดยเฉพาะน้ำและแร่ชนิดต่างๆ
• เป็นการเมืองที่มีเสถียรภาพ
• ค่าจ้างแรงงานค่อนข้างต่ำ (2.06 USD/day)
จุดอ่อน• ระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานยังไม่พัฒนาเท่าที่ควร
• พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูงและภูเขา การคมนาคมไม่ค่อยสะดวก และไม่มีทางออกสู่ทะเล