วันพฤหัสบดีที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2557

จุดแข็ง และ จุดอ่อนของแต่ละประเทศในประชาคมอาเซียน



1. ประเทศสิงคโปร์
จุดแข็ง

• รายได้เฉลี่ยต่อคนต่อปีสูงที่สุดของอาเซียน ซึ่งติดอันดับ 15 ของโลก
• เป็นแรงงานที่มีทักษะสูง 
• การเมืองมีความเสถียรภาพ
• เป็นศูนย์กลางทางการเงินระหว่างประเทศ 
• มีชำนาญในด้านการจัดการทรัพยากรบุคคล และธุรกิจ
• มีสถานที่ตั้งที่เอื้ออำนวยต่อการเป็นศูนย์กลางเดินเรือ
จุดอ่อน
• พึ่งพาการนำเข้าวัตถุดิบและขาดแคลนแรงงานระดับล่าง
• มีค่าใช้จ่ายในการดำเนินธุรกิจที่สูง


2. ประเทศมาเลเซีย
จุดแข็ง

• รายได้เฉลี่ยต่อคนต่อปีอยู่ในอันดับ 3 ของอาเซียน
• มีปริมาณสำรองน้ำมันมากเป็นอันดับ 3 และมีก๊าซธรรมชาติมากเป็นอันดับ 2 ของเอเชียแปซิฟิก
• เป็นแรงงานที่มีทักษะ
• มีระบบโครงสร้างพื้นฐานที่ครบวงจร
จุดอ่อน• จำนวนประชากรค่อนข้างน้อย ซึ่งมีผลทำให้ขาดแคลนแรงงาน โดยเฉพาะแรงงานระดับล่าง


3. ประเทศบรูไน
จุดแข็ง

• รายได้เฉลี่ยต่อคนต่อปีอยู่ในอันดับ 2 ของอาเซียน และอันดับ 26 ของโลก
• การเมืองค่อนข้างจะมั่นคง
• เป็นประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน และมีปริมาณสำรองน้ำมันเป็นอันดับ 4 ของอาเซียน
จุดอ่อน• ตลาดขนาดเล็ก ประชากรประมาณ 4 แสนคน
• ขาดแคลนแรงงาน


4. ประเทศอินโดนีเซีย
จุดแข็ง

• ขนาดเศรษฐกิจใหญ่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
• ตลาดขนาดใหญ่ (ประชากรมากเป็นอันดับ 4 ของโลก และมากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้)
• มีชาวมุสลิมมากที่สุดในโลก
• มีทรัพยากรธรรมชาติหลากหลายและจำนวนมาก โดยเฉพาะถ่านหิน น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ โลหะต่างๆ
• ระบบธนาคารค่อนข้างแข็งแกร่ง
จุดอ่อน• ที่ตั้งเป็นเกาะและกระจายตัว
• สาธารณูปโภคพื้นฐานยังไม่พัฒนาเท่าที่ควร โดยเฉพาะการคมนาคม และการเชื่อมโยงระหว่างประเทศ


5. ประเทศเวียดนาม
จุดแข็ง

• ประชากรจำนวนมากอันดับ 14 ของโลก (ประมาณ 90 ล้านคน)
• มีปริมาณสำรองน้ำมันมากเป็นอันดับ 2 ของเอเชียแปซิฟิก
• มีแนวชายฝั่งทะเลยาวกว่า 3,200 กิโลเมตร
• ค่าจ้างแรงงานเกือบต่ำสุดในอาเซียน รองมาจากประเทศกัมพูชา
• การเมืองมีความเป็นเสถียรภาพ
จุดอ่อน• ระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานยังไม่ได้รับการพัฒนาเท่าที่ควร
• ต้นทุนที่ดินและค่าเช่าสำนักงานราคาค่อนข้างสูง


6. ประเทศฟิลิปปินส์จุดแข็ง
• ประชากรจำนวนมากอันดับ 12 ของโลก (มากกว่า100 ล้านคน)
• แรงงานทั่วไปมีความรู้ และสามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้
จุดอ่อน• ที่ตั้งห่างไกลจากประเทศสมาชิกอาเซียนทั้งหมด
• ระบบโครงสร้างพื้นฐาน และสวัสดิภาพทางสังคมยังไม่พัฒนาเท่าที่ควรจะเป็น


7. ประเทศไทย
จุดแข็ง

• เป็นฐานการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมและสินค้าเกษตรหลายรายการรายใหญ่ของโลก
• ที่ตั้งที่เอื้อต่อการเป็นศูนย์กลางโครงข่ายเชื่อมโยงคมนาคมด้านต่างๆ
• สาธารณูปโภคพื้นฐานของประเทศมีความทั่วถึง
• ระบบธนาคารค่อนข้างเข้มแข็ง
• แรงงานมีจำนวนมาก
จุดอ่อน• เทคโนโลยีการผลิตส่วนใหญ่ยังเป็นขั้นกลาง
• แรงงานส่วนใหญ่ยังขาดทักษะ


8. ประเทศกัมพูชา
จุดแข็ง

• มีทรัพยากรธรรมชาติหลากหลายและอุดมสมบูรณ์ โดยเฉพาะน้ำ ป่าไม้ และแร่ชนิดต่างๆ
• ค่าจ้างแรงงานต่ำสุดในอาเซียน (ประมาณ1.6 USD/day)
จุดอ่อน• ระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานยังไม่พัฒนาเท่าที่ควรจะเป็น
• ต้นทุนสาธารณูปโภคต่างๆ ทั้ง ค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า และการสื่อสาร ค่อนข้างสูง
• ขาดแคลนแรงงานที่มีทักษะ


9. ประเทศพม่า
จุดแข็ง

• มีทรัพยากรธรรมชาติ น้ำมันและก๊าซธรรมชาติเป็นจำนวนมาก
• มีพรมแดนเชื่อมโยงกับประเทศจีนและอินเดีย
• ค่าจ้างแรงงานค่อนข้างต่ำ (2.5 USD/day)
จุดอ่อน• ระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานยังไม่พัฒนาเท่าที่ควร
• ความไม่แน่นอนทางการเมือง และนโยบาย


10. ประเทศลาว
จุดแข็ง

• มีทรัพยากรธรรมชาติหลากหลายและอุดมสมบูรณ์ โดยเฉพาะน้ำและแร่ชนิดต่างๆ
• เป็นการเมืองที่มีเสถียรภาพ
• ค่าจ้างแรงงานค่อนข้างต่ำ (2.06 USD/day)
จุดอ่อน• ระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานยังไม่พัฒนาเท่าที่ควร
• พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูงและภูเขา การคมนาคมไม่ค่อยสะดวก และไม่มีทางออกสู่ทะเล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น